โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา

โรงเรียนมหาวชิราวุธ  จังหวัดสงขลา
ครูสอนว่า จงรักษาความดีให้เหมือนเกลือที่รักษาความเค็ม

ความรู้อยู่ไหน

ค้นคว้าหาไปหยิบใส่สมอง
โลกเราแลกว้างยิ้มอย่างพี่น้อง
หยิบกระเป๋าทอดน่อง
ย่างเท้าก้าวเดิน

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติวัดกู่แก้วรัตนาราม


วัดกู่แก้วรัตนาราม สถานที่ตั้ง วัดกู่แก้วรัตนารามตั้งอยู่ที่บ้านกู่แก้ว ตำบลบ้านจีต กิ่งอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานีประวัติความ เป็นมาบริเวณวัดกู่แก้วรัตนารามเป็นแหล่งที่อยู่ของมนุษย์มาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากการขุดค้น และสำรวจ ทางโบราณคดีพบว่าบริเวณบ้านจีต พบอารยธรรมร่วมสมัยกับบ้านเชียง ซึ่ง ศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้จัดอยู่ในอารยธรรมกลุ่ม หนองหานกุมภวาปี ในกิ่งอำเภอกู่แก้ว( เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอหนองหาน)นั้นได้พบหลักฐานยุคเดียวอารยธรรมบ้านเชียง จากการศึกษาพบเนินดินขนาดใหญ่ ที่มีภาชนะดินเผาในชนิดต่าง ๆ รวมทั้งลายเขียนสีแบบบ้านเชียง โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับและเครื่องมือโลหะตลอดจนลูกปัด นับเป็นแหล่งโบราณคดีที่คล้ายคลึงกับบ้านเชียงแต่มีความแตกต่างกัน เช่น บริเวณบ้านคอนสาย ใกล้เคียงกัน ได้ค้นพบหลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ที่แปลกแตกต่างออกไปจากบ้านเชียง ขุดพบโครงกระดูก และเครื่องประดับสำริด นอกจากนี้ยังพบเสมาหินทรายเป็นจำนวนหลายหลักล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างไปจากบ้านเชียงแต่น่าเสียดายหลักฐานจำนวนมากได้สูญหายไปวัดกู่แก้วรัตนาราม เป็นโบราณสถานสมัยขอมที่แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของอารยธรรมในดินแดนภาคอีสานได้เป็นอย่างดี เมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปี มาแล้ว อาณาจักรขอมได้แผ่อิทธิพลมาสู่ดินแดนนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของขอม ได้สร้าง" อโรคยาศาลา ขึ้นทั่วอาณาจักรของพระองค์์โดยอุทิศส่วนกุศลให้กับเทพเจ้าแห่งการแพทย์พระโพธิสัตว์ครุไภษยะ ตามคติความเชื่อของของพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นที่พักของคนเดินทางและรักษาผู้ที่เจ็บป่วย วัดกู่แก้วรัตนารามจึงเป็นหลักฐานสำคัญของศิลปะขอมยุคบายน เป็นปราสาทที่สร้างด้วยศิลาแลง ที่มีลักษณะเดียวกันกับวัดกู่เขตบ้านม้า ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครบริเวณวัดกู่แก้วรัตนารามนี้ เป็นที่พัก ตามเส้นทางไปสู่เมืองหนองหานน้อย หรือเมืองหนองหาน อันเป็นเมืองโบราณในเขตอีสานตอนบน การสร้างอโรคยาศาลานี้พระองค์ได้อุทิศที่ดิน ทาส และทรัพย์สินให้แก่พระผู้ดูแลเพื่อบำเพ็ญบุญกุศล และสร้างพระพุทธรูปชื่อว่า พระพุทธชัยวรนาถ ไว้ประจำทุกแห่งนักประวัติศาสตร์บาง ท่านกล่าวว่า เพื่อเป็นตัวแทนของพระองค์แสดงถึงอำนาจและอิทธิพลเหนือดินแดนรอบพระนครหลวง ( นครธม )ในสมัยล้านช้าง ประมาณ ๔๐๐ ปีมาแล้ว เมื่ออารยธรรมขอมเสื่อมลงอาณาจักรล้านช้าง ได้มีอิทธิพล เหนือดินแดนนี้ชุมชนไทยลาวอพยพเข้ามาอาศัยจำนวนมาก พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบล้านช้างจึงมีอิทธิพลต่อศิลปะยุคนี้ ทำให้มีการก่อสร้างเจดีย์และพระพุทธรูปในสมัยล้านช้าง เช่น พระไม้ พระที่ทำด้วยเงิน ฐานเจดีย์ก่ออิฐถือปูน เป็นต้นเมื่อเข้าสู่ยุคปฏิรูปการปกครองอีสานในสมัยรัชกาลที่ ๕ บริเวณวัดกู่แก้วรัตนารามซึ่งเคยอยู่ใต้การปกครองของเมืองหนองหานเดิมก็ไปขึ้นกับมณฑลอุดร ประมาณ 80 ปีที่ผ่านมามีการอพยพของประชากรจากอีสานตอนกลางและตอนล่างเข้ามาอาศัยอยูในตำบลบ้านจีต ได้ก่อสร้างธรรมศาลาศาลาทับปราสาทเดิมและสร้างอุโบสถตามแบบช่างพื้นเมือง ศิลปะแบบกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้เข้ามาแทนที่ได้แก่พระพุทธรูปแบบสุโขทัยและอุโบสถแบบภาคกลาง

หลักฐานที่พบ
ในชุมชนตำบลบ้านจีตพบเนินดินที่มีเศษภาชนะดินเผาวัฒนธรรมบ้านเชียง โครงกระดูกเครื่องมือเครื่องใช้สำริด ลูกปัดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของบ้านจีตพบศาสนสถานสมัยขอม คือ ปราสาทศิลาแลง ประกอบด้วยปราสาท ประธานและวิหารตั้งอยู่ภายในกรอบกำแพงศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางเข้ามีซุ้มโคปุระด้านตะวันออก ปัจจุบันตัวอโรคยาศาลาปรักหักพังลงเหลือแต่กำแพงศิลาแลงและซุ้มโคปุระ มีทับหลังหินทรายเทพ แห่งการแพทย์หลงเหลืออยู่ในธรรมศาลาที่ชาวบ้านสร้างขึ้น ไม่พบพระพุทธชัยวรนาถอันเป็นตัวแทนของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สันนิษฐานว่าถูกนำไปขายในช่วง สงครามอินโดจีน พบเจดีย์ก่ออิฐถือปูนแบบศิลปล้านช้างองค์หนึ่ง ส่วนยอดพังทลายลงเหลือเรือนธาตุบางส่วน กับฐานบางส่วนกับฐาน ขุดพบพระเงินสมัยล้านช้างจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ศรีสว่างพบหินบดยาและลูกบด ตัวหินบดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีขาตั้ง ตัวลูกบดเป็นหินทรายแท่งยาว กลึงให้กลม แสดงให้เห็นถึงการเป็นสถานที่รักษาพยาบาลโดยแท้ ปัจจุบันชาวตำบลบ้านจีตถือว่าวัดกู่แก้วรัตนาราม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิเป็นที่สถิตของพ่อตื้อพ่อตันทุกวันเพ็ญเดือนหกจะจัดให้มีบุญบั้งไฟเพื่อบูชาวัดกู่แก้วรัตนาราม
เขียนไว้ใน วิกิพีเดีย เมื่อเดือน กันยายน 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น