โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา

โรงเรียนมหาวชิราวุธ  จังหวัดสงขลา
ครูสอนว่า จงรักษาความดีให้เหมือนเกลือที่รักษาความเค็ม

ความรู้อยู่ไหน

ค้นคว้าหาไปหยิบใส่สมอง
โลกเราแลกว้างยิ้มอย่างพี่น้อง
หยิบกระเป๋าทอดน่อง
ย่างเท้าก้าวเดิน

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักและทฤษฏีและการบริหารการศึกษา


ข้อสอบวิชาหลักและทฤษฏีและการบริหารการศึกษา 1065113 รศ.ดร.สมคิด สร้อยน้ำ
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
นายเกื้อกูล ขวัญทอง 52150601102 รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปะโค
1.ตอบ การนำทฤษฏีบริหารมาใช้ในการบริหารโรงเรียน
ในแต่ละโรงเรียนจะมีบริบทหรือสิ่งแวดล้อมภายในภายนอกที่แตกต่างกัน การนำทฤษฏีบริหารมาใช้ก็เหมือนการเลือกวิธีการหรือกลยุทธ์ในการทำงาน ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนนั้น ซึ่งเราต้องเข้าใจ ว่าทฤษฏีใดเหมาะสมกับโรงเรียนของเรา อย่างไร ก็ตาม เราต้องคำนึงถึงนโยบายการศึกษาชาติ กฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา อีกด้วย
หลักการบริหารแนวพุทธ
ทฤษฏีการบริหารการศึกษา มีการพัฒนามาตามขั้นตอน และกาลเวลา หากเลือกใช้จะใช้ทฤษฏีใดสิ่งที่เป็นหัวใจหลักหรือเป็นหลักยึดอันดับแรก สิ่งนั้นก็คือ หลักแห่งพระพุทธศาสนา เพราะหากผู้บริหารมีคุณธรรมแล้วย่อมเป็นที่เชื่อถือศรัทธา รักใคร่ ของผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อกุมหัวใจคนได้แล้ว การร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาโรงเรียน ก็จะประสบผลสำเร็จ
ดังนั้นผู้บริหารจึงควรมีคุณธรรมที่พึงประสงค์กล่าวคือ มีธรรมะผู้นำ อันได้แก่ พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 7 อคติ 4
พรหมวิหาร 4 คือ ธรรมของผู้ใหญ่ เพราะในศาสนาพราหมณ์ถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างลก ซึ่งเทียบกับผู้นำซึ่งมีหน้าที่ปกครองและคุ้มครองผู้น้อย ได้แก่ธรรมะ 4 ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา
เมตตา มีรากศัพท์เดียวกับคำว่าไมตรี คือ ความเป็นมิตร ไม่มุ่งร้ายแต่มุ่งประโยชน์ มุ่งความสุขแก่ผู้น้อย ไม่เบียดเบียนผู้น้อย
กรุณา คือการช่วยเหลือ นอกจากคิดดี( เมตตา ) แล้ว เมื่อมีโอกาสก็ทำดี ( กรุณา ) คือช่วยเหลือต่อผู้ที่ประสบปัญหา ตกทุกข์ได้ยากให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้นๆ
มุฑิตา คือการพลอยยินดี เมื่อผู้น้อยได้ดี ประสบความสำเร็จ ผู้นำก็ไม่คิดอิจฉา แต่ยินดีด้วย และสนับสนุนให้ผู้น้อยประสบความสำเร็จสูงขึ้น ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ตามความสามารถ
อุเบกขา คือ การรู้จักวางเฉยในสถานการณ์ที่เหมาะสม เช่น ลูกน้องจงใจทำผิด ก็ต้องให้มีการลงโทษไปตามกฎ คือรู้จักใช้ทั้งเมตตากรุณา มุฑิตา ในกาลที่เหมาะสม ไม่ให้เสียธรรม ( หลักการ ) ทั้งสี่ข้อนี้ เมตตาควรมีอยู่เสมอกับทุกๆคน ทุกๆเมื่อ กรุณาจะใช้เมื่อผู้ที่กำลังเดือดร้อน มุฑิตาใช้กับผู้ได้ดีมีสุขแล้ว ส่วนอุเบกขาต้องมีปัญญาประกอบว่า จะใช้อีกสามข้อเมื่อใด จะวางเฉยเมื่อใด
สังคหวัตถุ 4 แปลว่า แนวทางการสงเคราะห์( ช่วยเหลือ ) สี่แบบ จัดเป็นธรรมในการผูกมิตร ทำให้คนทั้งหลายรักใคร่ชอบพอสี่ข้อนี้ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา
ทาน คือการให้ แบ่งเป็นสามอย่างคือ ให้ทรัพย์สิ่งของ ให้ธรรมะคือ ความรู้ความเข้าใจในหลักความจริงของชีวิต และ ให้อภัย พระพุทธเจ้าสรรเสริญการให้ธรรมะ ว่าเป็นการให้อันสูงสุดน่าจะเปรียบเหมือนสอนคนตกปลา กับให้ปลากับคนนั่นเอง
ปิยวาจา คือการพูดจาอ่อนหวาน น่าฟัง ไม่ระคายหู ผู้พูดควรมีจิตเมตตาเจริญไว้ จะทำให้การพูดอ่อนหวาน ฟังเป็นธรรมชาติไม่ดูเสแสร้ง
จริยา คือการทำตัวให้เป็นประโยชน์ นั่นคือการช่วยเหลือในการงาน หรือ อำนวยความสะดวก ให้งานของเขาลุล่วงไปโดยง่ายอีกรวมทั้งการให้คำแนะนำ ในฐานะผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มาก่อนด้วย
สมานัตตา คือ วางตนอย่างเหมาะสม รู้กาลเทศะว่าในสถานการณ์ใด ควรวางตัวเช่นไร อีกความหมายหนึ่งคือการวางตัวสม่ำเสมอ ในฐานะผู้ใหญ่ ต้องมีความมั่นคง มีจุดยืนไม่ลังเลไปๆมาๆ
อคติ 4 ที่ควรต้องเว้นคือ ฉันทาคติ( อคติเพราะรักหรือชอบ ) โทสาคติ ( อคติเพราะโกรธ ) โมหาคติ ( อคติเพราะหลง ) ภยาคติ ( อคติ เพราะกลัวภัย ) ผู้นำนั้น มีหน้าที่ต้องตัดสินเรื่องราวต่างๆ ต้องจัดการข้อพิพาท ต้องแบ่งผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายต่างๆ จึงต้องมีการตัดสินใจ ที่มีอคติน้อยที่สุด จึงจะเกิดความเป็นธรรม และได้รับการยอมรับ จากทุกๆฝ่าย
เนื่องจากอคติ เป็นอกุศลที่อยู่ภายในจิตใจเราเอง จึงเป็นสิ่งที่รู้ และสังเกตได้ค่อนข้างยาก เพราะคนทั้งหลายย่อมเข้าข้างตัวเอง ผู้บริหารจึงต้องรู้จักรับฟังความเห็นจากคนรอบข้าง ซึ่งจะสังเกตพฤติกรรมที่อาจเกิดจากอคติของเราได้ดีกว่า
เมื่อมีหลักธรรมมะดังกล่าวแล้ว จึงนำไปสู่ ศรัทธา คือ เชื่อผู้นำ ยินดีกระทำตามด้วยความรักและนับถือ เมื่อมีขวัญและกำลังความขยันขันแข็ง ก็ตามมา เรียกว่า เกิดความวิริยะอุตสาหะ พร้อมกันนั้นผู้บริหารจึงพัฒนาปัญญาควบคู่ไปด้วย การกุมหัวใจคนไว้ได้ อุปสรรค ใดก็พ่ายแพ้ในที่สุด แน่นอนว่าผู้บริหารทำให้ทุกคนรักศรัทธาไม่ได้ แต่ถ้าคนส่วนใหญ่เชื่อมั่นก็เพียงพอแล้ว

หลักและทฤษฏีการบริหาร

หลักและทฤษฎีการบริหารที่เรานำมาจากชาติตะวันตกนั้นมีมากมายหลายวิธีการตามยุคสมัย เนื่องจากมีนักการศึกษาไทยได้ไปเรียนรู้แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยซึ่งสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง การนำทฤษฎีใดที่ไม่เข้ากับคนไทยก็สูญหายไปตามกาลเวลา สิ่งใดปรับเข้ากับวิถีไทยได้
ก็อยู่ยงคงกระพันต่อไป อย่างไรก็ดีหากเราไม่เปลี่ยนแปลง เราก็ไม่สามารถแข่งขันหรือพัฒนาได้เท่ากับประเทศอื่น
การบริหารสถานศึกษาแนวใหม่นั้น ผู้บริหารควรมีหลักและกระบวนการบริหาร การบริหารการศึกษา หลักการแนวคิดในการบริหาร ภาพรวมของการบริหารทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมุมมองในการบริหารสถานศึกษายิ่งขึ้นต่อไป
คำจำกัดความ คำว่า “การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้
Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
Herbert A. Simon :กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
ส่วนคำว่า “การบริหารการศึกษา” หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)
คำว่า “สถานศึกษา” หมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง
(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23 )
บทบาทของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษามีภารกิจขอบข่ายและการจัดการศึกษาตามโครงสร้างสายงานที่เปลี่ยนแปลงใหม่และเป็นบทบาทที่ผู้บริหารต้องนำไปใช้หรือนำไปปฏิบัติ ในภารกิจ 4 ด้าน ดังนี้
1. การบริหารงานวิชาการ เป็นภารกิจงานในการบริหารงานวิชาการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ประสานความร่วมมือกับครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ จัดภารกิจงานให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การวิจัย การพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
2. การบริหารงบประมาณ เป็นภารกิจงานในการบริหารงบประมาณ มุ่งเน้นความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน จัดภารกิจให้ครอบคลุมการเสนอของบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ บริหารงานการเงิน บัญชี พัสดุและสินทรัพย์ การตรวจสอบติดตามและระเมินผล
3. การบริหารงานบุคคล เป็นภารกิจงานในการบริหารงานบุคคล มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองภารกิจของสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ให้ขวัญกำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติ ความก้าวหน้างานในอาชีพ จัดภารกิจให้ครอบคลุม การวางแผนอัตรากำลัง การบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติ ราชการ ตลอดจนวินัยและการรักษาวินัย
4. การบริหารทั่วไป เป็นภารกิจงานในการบริหารงานทั่วไป เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการบริหารองค์กรให้บรรลุผลตามมาตรฐาน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคคล จัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จัดภารกิจงานให้ครอบคลุม งานสำนักงาน การพัฒนาระบบเครือข่าย ข้อมูลสารสนเทศ เครือข่ายการศึกษา งานอาคารสถานที่ การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา การจัดระบบควบคุมภายในและประสานงานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่น


การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) ปัจจัยสำคัญการบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
1. คน (Man)
2 เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ(Materials)
4. การจัดการ (Management)
กระบวนการบริหารการศึกษา
จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อขอ ง Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำมาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ

ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา

ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย


ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10 ) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของ เทย์เลอร์ (Scientific Management) ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ“The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน ( Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล ( Henri Fayol ) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน และ วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17 )F ayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะ ทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ
(Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict)
ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร”
(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment ) ที่ เมโย ( Mayo ) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*
ระยะที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach)ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) หลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เ ขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X
(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น

ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุป สองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

การนำหลักทฤษฎีมาใช้
การหลักทฤษฏีใดมาใช้นั้นผู้บริหารวิเคราะห์ สภาพปัญหาของโรงเรียนของตนเอง ว่า ควรนำทฤษฏีใดมาใช้ในการแก้ปัญหามาใช้ ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนของเรา การใช้ SWOT วิเคราะห์สภาพภายนอกและภายในโรงเรียนบ้านปะโค หากรู้เขาและรู้เรา ให้รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง” เป็นหนึ่งประเด็นกลยุทธ์ด้านการศึกของจีนในสมัยโบราณ กล่าวไว้เพื่อแสดงถึงการศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองและคู่แข่งขัน ที่จะนำมาซึ่งการกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการสร้างความสำเร็จในการบริหารดำเนินงาน ใดๆได้ตามประสงค์ การศึกษาวิเคราะห์องค์กร หน่วยงานหรือของตัวบุคคล เพื่อทบทวนจุดอ่อน (Weakness) จุดแข็ง (Strengths) โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats) ในการทำงานหรือเรียกสั้นๆว่า SWOT Analysis เป็นหนึ่งในเครื่องมือของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขององค์กร หน่วยงาน หรือระดับบุคคล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารองค์กรได้หลากหลาย เช่นการกำหนดกลยุทธ์ในการวางแผนธุรกิจ การวางแผนการตลาด แผนการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือขั้นต้นในการทำ Five Force สำหรับการปรับปรุงองค์กร ใช้การบริหารทรัพยากรบุคคล หรือกระทั่งการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เพื่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เป็นการศึกษาเพื่อทำให้เรารู้ว่าอะไรเป็นปัญหาหรือโอกาสที่เราต้องแก้ไขปรับปรุง ทั้งนี้ SWOT Analysis เป็นการระดมความคิดของคนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ในหลายๆ มุมมอง ที่จะช่วยในการกำหนดปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นกลยุทธ์ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
จากการวิเคราะห์ Swot โรงเรียนบ้านปะโคมีจุดแข็ง คือ
1.ชุมชนให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
2.ครูมีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง
3.มีสภาพที่ตั้งและสิ่งแวดล้อมเหมาะสม อยู่บริเวณชานเมือง การคมนาคมสะดวกใกล้แหล่งเรียนรู้
4.การบริหารการเงินที่โปร่งใสและมีงบประมาณเพียงพอในการสนับสนุนการศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา
1.กระบวนการบริหารบุคลากรยังขาดการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ครูไม่กล้าเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหา
2.แผนงานของโรงเรียนไม่ตอบสนองต่อปัญหาของโรงเรียน เนื่องจากขาดการระดมความคิด ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันทำให้ไม่สามารถนำไปสู่เป้าหมาย ( GOAL )ได้
3.ระบบสายงานการบริหารไม่เป็นระบบ ผู้รับผิดชอบทำงานพิเศษ ไม่เข้าใจหน้าที่ของตนหรือละเลย การปฏิบัติหน้าที่ โดยถือเป็นธรรมดา
3.นักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนมีปัญหาในครอบครัว การเรียนอ่อน
นักเรียนเรียนดี หรือฐานะดี มักไปเรียนในโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ
4.สภาพสถานที่ของโรงเรียนสกปรกและขาดการเอาใจใส่ อาคารเก่าและมีการปรับปรุงน้อย
เนื่องจากขาดการกระตุ้น การแลกเปลี่ยนที่ก่อให้เกิดความรัก ความเอาใจใส่โรงเรียน

การทฤษฎีการบริหารมาแก้ไขปัญหาโรงเรียนบ้านปะโค
1.นำ ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์
(Max Weber) ที่กล่าวถึง หลักการบริหารราชการมาใช้และปรับประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย อธิบายให้เห็นถึงหลักหน้าที่ทางกฎหมาย รวมทั้ง โทษทางวินัยและสิทธิที่ได้รับตามกำหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์ สร้างข้อตกลงร่วมกัน ใน การออกระเบียบปฏิบัติในโรงเรียน
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง จัดคนให้เหมาะกับงาน
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว มีการประชุมอย่างเป็นระบบ และเป็น ทางการเพราะที่ผ่านมาการคิดการทำไม่เป็นระบบ
2.นำทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) มาใช้ เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นความร่วมมือในหน่วยงาน สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ส่งเสริมความความคิดริเริ่มของครู สร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังให้มีการพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สิ่งที่ต้องนำมาใช้ คือ การสร้างแรงจูงใจ การบริหารแบบมีส่วนร่วม ( SBM )

สรุป การนำทฤษฏีการบริหารมาใช้ สำหรับผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องพัฒนาอยู่เสมอไม่หยุดนิ่ง ตามหลักวงจรเดมมิ่ง คือ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีทฤษฏีใดดีที่สุด แต่ละทฤษฏีเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ดัง คนโบราณกล่าวว่าไฟไหม้ ในป่า ให้ใช้กิ่งไม้สดดับไฟ ไฟไหม้กลางทะเลทรายให้ใช้ทรายดับไฟ ไฟไหม้ริมแม่น้ำให้ใช้น้ำดับไฟ เป็นต้น



2.วัฒนธรรมและบรรยากาศองค์กร…………………………………………………………………………………………………………
ตอบ เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว มีครูผู้หญิงคนหนึ่งได้มาบรรจุในโรงเรียนของผู้เขียน เดินทางเข้ามาสอนในโรงเรียนชนบท เป็นครั้งแรก ความเคยชินของคนเมืองที่ไม่เคยผ่านชีวิตชนบท ทำให้เธอไม่สามารถอยู่ในโรงเรียนอีสานชนบทได้ ต้องลาออกหลังจากมาเป็นครูสามวัน และที่จำได้ลางเลือนรู้สึกว่าเป็นงานเขียนของ นิมิตร ภูมิถาวรหรือของคำหมาน คนไค เขียนถึงครูสาวชาวกรุงเทพมาบรรจุ ในภาคอีสานได้วันเดียวต้องลาออกเพราะทนสภาพโรงเรียนไม่ได้
จากประสบการณ์ดังกล่าวผู้เขียนจึงเห็นว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความตั้งใจปฏิบัติงาน และความรักในองค์การของบุคลากรในโรงเรียนที่ผู้บริหารต้องสร้างหรือทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีขึ้น ทำอย่างไรให้บุคลากรในโรงเรียนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
วัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ค่านิยม ความเชื่อ และความคาดหวังที่มีร่วมกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกองค์การ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน "บุคลิกภาพ" (Personality) หรือ "จิตวิญญาณ" (Spirit) ขององค์การ
ที่มาของวัฒนธรรมองค์การ วัฒนธรรมองค์การมักจะสะท้อนจากวิสัยทัศน์ (Vision) หรือพันธะกิจ (Mission) ของผู้ก่อตั้งที่ได้คาดหมายและจินตนาการไว้ตั้งแต่แรกก่อตั้งองค์การ ว่าองค์การนั้นควรมีลักษณะหรือมีความเป็นตัวตน (Sense of Identity)อย่างไร หรือมีความมุ่งมั่น (Doninant Orientation) ในเรื่องใด เมื่อเวลาผ่านไปผู้บริหารรุ่นต่อ ๆ มาก็จะสืบสานและพัฒนาวิสัยทัศน์หรือพันธะกิจนั้นต่อเนื่องกันมาเป็นลำดับผ่านวัฒนธรรมองค์การเพื่อให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโต วัฒนธรรมองค์การของแต่ละองค์การจะแตกต่างกัน เช่น Hewlett Packard (HP) เน้นการวิจัยและพัฒนา (R&D) Nordstrom เน้นเรื่องบริการ Maytag เน้นคุณภาพผลิตภัณฑ์บางองค์การก็มีวัฒนธรรมเน้นหลายด้าน เช่น ป.ต.ท. มีวัฒนธรรมองค์การเน้นให้พนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของธุรกิจ (Sense of Ownership) เน้นผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Business Oriented) มุ่งเน้นลูกค้า (Customer Oriented) เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization) และมีจิตสำนึกในการทำงานเป็นทีม (Team Spirit) หรือบริษัท Volvo เน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ (Quality) เน้นความปลอดภัย (Safety) เน้นดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Environmental Care) และเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)
ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์การ เมื่อบุคลากรหรือผู้บริหารเข้าทำงานในองค์การใด ก็จะต้องเรียนรู้และปรับความคิดและการปฏิบัติไปตามครรลองหรือบรรทัดฐานของวัฒนธรรมองค์การขององค์การนั้น ในตำราวิชาการจัดการมักจะอธิบายถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์การในเชิงว่าเมื่อบุคลากรใหม่เข้าทำงานวันแรกมักจะสอบถามครูอาวุโสที่ทำงานอยู่แล้วมาเป็นเวลานานถึงวิธีการทำงานในองค์การนั้น วัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเสมือน "กติกา มารยาท" ที่คนในองค์การจะต้องยึดถือปฏิบัตินอกเหนือจากกฎหมาย ระเบียบหรือนโยบายของทางราชการที่บุคลากรทุกคนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ครูคนใด ไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมขององค์การจึงมักมีปัญหาทำนองเดียวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือนโยบายของทางราชการ วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งและอ่อนแอ วัฒนธรรมของแต่ละองค์การอาจมีความเข้มแข็งหรืออ่อนแอมากน้อยแตกต่างกันไปจึงส่งผลต่อความเคร่งครัดมากน้อยในการปฏิบัติของสมาชิกขององค์การแตกต่างกันไปด้วย
การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ อาจมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) เช่นการเปลี่ยนนโยบายการศึกษาชาติ การออกกฎหมายฉบับใหม่ เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์อาจมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การเอง (Internal Environment) เช่น เมื่อมีการแต่งตั้งผู้บริหาร ระดับสูง คนใหม่ มักจะมีการเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ตามวิสัยทัศน์ใหม่หรือการมีคณะกรรมการสถานศึกษาชุดใหม่ ครูเก่าเกษียณจำนวนมาก
การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การเพื่อให้องค์การสามารถปฏิบัติตามกลยุทธ์ใหม่ได้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ใหม่ เช่น เมื่อ องค์การใช้กลยุทธ์เจริญเติบโต (Growth) จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ (Organizational Structure) ปรับปรุงระบบบริหาร มีการปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชาใหม่ในด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ก็ต้องมีการฝึกอบรมให้มีทักษะความรู้ใหม่ มีการแต่งตั้งบุคลากรให้เป็นผู้บริหารในหน่วยงานใหม่ ในทางกลับกัน หากองค์การใช้กลยุทธ์ถดถอย (Retrenchment) ก็ต้องปรับโครงสร้างองค์การใหม่ให้เล็กลง (Downsizing) หรือ (Rightsizing) และลดภาระงานลง (Decruitment) นอกจากการปรับโครงสร้างและบุคลากรแล้ว องค์การยังอาจต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การใหม่ให้รับกับกลยุทธ์ โครงสร้าง และบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคลากรใน องค์การ จึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy Implementation) วัฒนธรรมองค์การอาจจะเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการส่งเสริมสนับสนุนต่อความสำเร็จ ขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์การก็อาจจะเป็นอุปสรรคและต้นเหตุของความล้มเหลวขององค์การได้เช่นกัน ผู้บริหารในองค์การที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การจึงต้องทำความเข้าใจกับบุคลากรถึงความจำเป็นและผลดีของการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ มีการพัฒนาและฝึกอบรมทักษะให้บุคลากร สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ได้ การรับบุคลากรใหม่ หรือการปรับตัวของบุคลากรเก่า ต้องอยู่ในสายตาของผู้บริหารอย่างใกล้ชิด
สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ต้องสร้างวัฒนธรรมในองค์กร ดังนี้
1. วัฒนธรรมองค์การที่เน้นนวัตกรรม (Innovative Culture)
องค์การที่มีวัฒนธรรมองค์การเน้นนวัตกรรมจะให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้แนวคิด ผลสำเร็จและผลลัพท์หรือดำเนินงานใหม่ ๆ ส่งเสริมบุคลากรขององค์การให้มีความคิดริเริ่ม ใหม่ ๆ (Creativity) ในการทำงานโดยผู้บริหารจะต้องยอมรับความเห็นที่แตกต่างและหลากหลาย (Diversify) ของบุคลากรด้วย Goran Ehvall นักวิจัยชาวสวีเดนอธิบายว่าองค์การจะสามารถสร้างวัฒนธรรมเน้นนวัตกรรมได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
1.1 Challenge and Involvement: ความมากน้อยของการให้มีส่วนร่วมและการจูงใจให้บุคลากรเป็นอิสระในการกำหนดวิธีปฏิบัติงานและการใช้ความริเริ่มในการปฏิบัติงานในแต่ละวัน
1.2 Freedom:ความมากน้อยของบุคลากรในความเป็นอิสระในการกำหนดวิธีปฏิบัติงานและการใช้ความคิดริเริ่มในการปฏิบัติงานในแต่ละวัน
1.3 Trust and Opneness: ความมากน้อยของความช่วยเหลือเกื้อกูลและความเคารพและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
1.4 Idea Time: ความมากน้อยของเวลาที่จะให้บุคลากรได้พินิจพิจารณาคิดค้นหาสิ่งใหม่ ๆ มาช่วยในการปฏิบัติงาน
1.5 Playfulness/Homor: บรรยากาศในที่ทำงาน มีความผ่อนคลาย รื่นเริงและเป็นกันเองมากน้อยเพียงใด
1.6 Conflict Resolution: การที่บุคคลในองค์การนั้นเมื่อมีการตัดสินใจและแก้ไขประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้ใช้ฐานความคิดเพื่อผลประโยชน์โดยรวมขององค์การหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง หากบุคลากรส่วนใหญ่คิดถึงประโยชน์ขององค์การ องค์การนั้นก็มีแนวโน้มที่จะมีนวัตกรรมได้มาก
1.7 Debates: ความมากน้อยของโอกาสที่บุคลากรจะได้รับอนุญาตให้แสดงความคิดเห็นร่วมอภิปรายและโต้แย้งกันได้โดยผู้บริหารยินดีรับฟังและนำความคิดเห็นนั้นไปพิจารณาและนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
1.8 Risk Taking: ความมากน้อยที่ผู้บริหารขององค์การจะมีความอดทนต่อความไม่แน่นอนและความคลุมเครือ และการให้รางวัลตอบแทนแก่บุคลากรในโอกาสอันควร


2.วัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม (Ethical Culture)
องค์การที่มีวัฒนธรรมเน้นจริยธรรมหมายถึงการดำเนินงานที่มี ธรรมาภิบาล (good Governance) มีความเป็นธรรมต่อกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สังคม การศึกษา สุขอนามัย ชุมชน ประเพณีวัฒนธรรมและสังคมโดยรวม ถ้ายิ่งเป็นวัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็งด้วยจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของครูที่จะประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ซึ่งมักจะมีลักษณะเน้นมีความอดทนไม่ย่อท้อต่อความไม่แน่นอน (High in Risk Tolerance) เน้นความพอเพียงพอดีไม่เน้นเชิงรุก
(Low to Moderate in Aggressiveness) และให้ความสำคัญกับวิธีการหรือการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้วยโดยมิได้เน้นหวังแต่ผลลัพธ์อย่างเดียว (Focused on Means as well as Outcomes) ผู้บริหารสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์การให้เน้นความมีจริยธรรมเพิ่มขึ้นได้ดังนี้
2.1 ผู้บริหารเองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อครูในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
2.2 สื่อสารถึงครูให้ทราบความคาดหวังขององค์การต่อครูในเรื่องการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
2.3 มีการฝึกอบรมเรื่องการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ให้แก่ครู
2.4 องค์การต้องมีมาตรการที่ชัดเจนที่จะสนับสนุนส่งเสริมจริยธรรม เช่น ให้รางวัลผู้มีจริยธรรม และลงโทษผู้ที่ไม่มีจริยธรรม
2.5 องค์การต้องมีกลไกการดำเนินงานที่ทำให้ครูเข้าใจเรื่องของจริยธรรมและให้ครูเปิดเผยหรือ
รายงานพฤติกรรมที่ไม่มีจริยธรรมโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใด
3. วัฒนธรรมองค์การที่เน้นความผูกพันต่อองค์การด้วยใจ (Spiritually and Organizational Culture)
ในโลกที่สับสนวุ่นวายในปัจจุบันความผูกพันด้วยใจต่อสถานที่ทำงานมีความสำคัญมากขึ้น คนทั้งหลายต่างพยายามค้นหาทางออกจากความเครียดและความกดดันในชีวิตประจำวันที่ยุ่งเหยิงและเหนื่อยล้า วิถีชีวิตปัจจุบันที่ครอบครัวแตกแยก ชีวิตที่เร่งรีบและแข่งขัน ปัญหาจราจรติดขัด เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ผู้คนต่างมุ่งวัตถุนิยม ห่างเหินความสัมพันธ์และขาดความเอื้ออาทรต่อกัน ครูโรงเรียนเข้าใจในปัยหานี้ดี จึงมักมีความนึกคิด (mind) และจิตใจ (Spirit) ที่จะค้นหาความหมายและเป็นหมายที่แท้จริงในการทำงานกับทั้งมีความปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและต้องการการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อชดเชยสิ่งที่ขาดหายไปในสังคมปัจจุบัน องค์การที่วัฒนธรรมมุ่งให้คนในองค่การมีความผูกพันด้วยใจต่อองค์การ จึงต้องหาทางที่จะรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้ให้นานที่สุดด้วย การสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานที่ทำให้มีความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวได้มากที่สุดจึงสามารถแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของครูได้ โดยพยายามทำให้องค์การเป็นเหมือนที่น่าอยู่หรือบ้านหลังที่สองที่มีแต่ความอบอุ่นเพื่อ ดึงดูดให้ครูอยู่กับองค์การได้นาน ๆ องค์การที่มีวัฒนธรรมเน้นความผูกพันต่อองค์การด้วยใจจะมีลักษณะ 5 ประการ ดังนี้
3.1 Strong Sense of Purpose: มีความสำนึกอย่างแรงกล้าต่อการบรรลุเป้าหมายทางสังคมต่อองค์การโดยสร้างวัฒนธรรมองค์การให้ตอบสนองต่อความสำเร็จของเป้าหมายขององค์การโดยไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
3.2 Focus on Iddividual Development: องค์การที่เน้นสร้างความผูกพันต่อองค์การด้วยใจจะตระหนักในความมีคุณค่าของบุคลากรจะไม่เป็นเพียงองค์การที่ให้ครูมาทำงานผ่านไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้นแต่จะสร้างวัฒนธรรมที่พัฒนาครูแต่ละคนให้เรียนสิ่งต่าง ๆ เป็นการเพิ่มทักษะและคุณค่าในตัวครูและมีโอกาสที่จะได้รับความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง
3.3 Trus and Openness: องค์การที่มุ่งเน้นการสร้างความผูกพันของบุคลากรต่อองค์การด้วยใจจะมีวัฒนธรรมที่ทำให้พนักงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Mutual Trust) มีความซื่อสัตย์ (Honesty) และเปิดเผยตรงไปตรงมา (Openness) ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวที่จะยอมรับความผิดพลาดและจะต้องยืนอยู่แถวหน้าร่วมกับครู และชุมชน
3.4 Employee Empowerment: ข้อแตกต่างประการสุดท้ายขององค์การที่เน้นสร้างความผูกพันของบุคลากรในองค์การด้วยใจเมื่อเทียบกับองค์การทั่วไป คือ ผู้บริหารจะไม่ปิดกั้นอารมณ์และความรู้สึกของครู นั่นคือ ครูสามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์และความรู้สึกได้โดยมิต้องเกรงกลัวความผิดหรือการถูกตำหนิ
ทำอย่างไรผู้ก้าวมาใหม่จะรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเอง ทำอย่างไรผู้อยู่มานานในองค์การจะรู้สึกมั่นคงรักและภักดี เสมือนองค์การของตนเองเป็นบ้านหลังที่สองของตน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร จะนำไปสู่ แนวทางใด เป็นคำตอบที่สำคัญที่สุด
บรรยากาศองค์การ
บรรยากาศองค์การ เป็นตัวแปรที่สำคัญในการศึกษาองค์การของมนุษย์ เป็นสิ่งเชื่อมโยงระหว่างลักษณะที่มองเห็นได้ขององค์การ เช่น โครงสร้างกฎเกณฑ์ ภาวะผู้นำและขวัญกับพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น บรรยากาศองค์การจะเป็นความรู้สึกของการปฏิบัติงานต่อลักษณะที่มองเห็นได้ขององค์การ จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรม ต่อทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน ( Litwin and Stringer, 2002,p65; Steers and Porter,1983,p.365 )
นอกจากบรรยากาศองค์การจะมีส่วนในการกำหนดพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานในองค์การแล้ว บราวน์ และโมเบิอร์ก ( Brown and Moberg, 1980,p. 420 ) ให้ความเห็นว่าบรรยากาศองค์การยังมีส่วนในการวางรูปแบบความคาดหวัง ของสมาชิกในองค์การต่อ องค์ประกอบต่าง ๆ ขององค์การซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้มีทัศนคติ ที่ดีต่อองค์การ และความพอใจที่จะอยู่ในองค์การ ดังนั้นหากต้องการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์กรแล้ว สิ่งทีนักพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงก่อนอื่นคือ บรรยากาศองค์การ เพราะบรรยากาศองค์การได้รับการสั่งสมมาจากความเป็นมาของวัฒนธรรมและกลยุทธ์ขององค์การตั้งแต่อดีต แนวความคิดของ บราวน์และ โมเบิร์ก สอดคล้องกับแนวความคิดของเฮลริเจล และสโลคัม ( Hellrigele and Slocum, 1974,p. 430) ที่มีความเห็นว่า ผู้บริหาร ทุกคนควรให้ความสำคัญต่อบรรยากาศขององค์การ เพราะบรรยากาศองค์การจะช่วยให้ผู้บริหาร วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น นอกจากนี้จะเป็นการเสนอหรือสนองบรรยากาศที่สร้างเสริมความพึงพอใจ ของผู้ปฏิบัติงานแล้ว จะช่วยให้องค์การมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วจะบรรลุเป้าหมายขององค์การได้เร็วขึ้น
บรรยากาศองค์การยังมีความสำคัญต่อผู้บริหารและบุคคลอื่น ๆ 3 ประการคือ
1. บรรยากาศบางอย่างทำให้ผลการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะดีกว่า บรรยากาศอื่น ๆ ดังการศึกษาของ นิวแวล (Newell,1978,p. 19) ที่ พบว่าบรรยากาศแบบปิด ซึ่งผู้บริหารไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน จะบริหารโดยใช้ กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ทำให้สมาชิกในกลุ่ม ไม่มีความพึงพอใจในงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ผู้บริหารองค์การที่อิทธิพลต่อบรรยากาศภายในองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกภายในองค์การ ดังนี้ ดูบริน ( Dubrin ,1973,p. 334-340) ได้สรุปไว้ว่าปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อบรรยากาศองค์การ คือ ภาวะผู้นำ ทัศนคติและวิธีการของการเป็น ผู้บริหารที่ใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชามีผลกระทบต่อบรรยากาศองค์การ โดยเฉพาะแบบของความเป็นผู้นำของผู้บริหารระดับสูงขององค์การและ ระดับรองลงมาที่มีความเข้าใจว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการปฏิบัติ
3. ความเหมาะสมระหว่างบุคคลและองค์การ มีความสำคัญต่อการกำหนดผลการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของบุคคลหนึ่งภายในองค์การมาก สเตียร์ และพอร์เทอร์
( Steers and Porter,1983,p 317) ได้สรุปผลการศึกษาของลิทวินและสติงเกอร์ ที่พบว่าองค์การที่มีบรรยากาศในการบริหารแบบใช้อำนาจคือ อำนาจในการตัดสินใจอยู่กับส่วนกลาง บุคลากรในองค์การต้องปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด บรรยากาศแบบนี้จะทำให้ผลผลิตต่ำ บุคลากรในองค์การมีความรู้สึกไม่พึงพอใจในงาน ไม่เกิดความคิด ริเริ่ม และมีทัศนคติที่ไม่พึงประสงค์ต่อกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน องค์การที่มีบรรยากาศร่วมประสานสัมพันธ์ และเน้นความสัมพันธ์ที่ดี ต่อกันในหมู่สมาชิกองค์การ จะมีผลทำให้บุคลากรในองค์การเกิดความพึงพอใจในงาน มีทัศคติที่ดีต่อบุคลากรในองค์การ เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แต่ผลงานยังอยู่ในระดับต่ำ และในองค์การที่มีบรรยากาศในองค์การแบบนี้ จึงมีผลทำให้บุคลากรขององค์การเกิดความพึงพอใจในงาน ทำให้บรรลุผลสำเร็จ นอกจากนั้น สเตียร์ และพอร์เทอร์ ยังได้กล่าวอ้างถึงแนวคิดของนักวิชาการอีกหลายคนที่กล่าวว่า บรรยากาศองค์การ มุ่งเน้นคนซึ่งประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารชนิดเปิด การให้ความสนับสนุนร่วมกันและกระจายอำนาจการตัดสินใจ นำไปสู่การปฏิบัติงานที่ดีของบุคลากร ลดการออกจากงาน ลดต้นทุนการผลิต และลดเวลาในการ ฝึกอบรม
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าได้ว่านอกจากบรรยากาศองค์การจะมีความสำคัญด้านการบริหารจัดการ ทั้งต่อผู้บริหารและบุคคลอื่น ๆ ในองค์การเป็นอย่างมากแล้ว ยังมีผลต่อการจูงใจในการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในงานที่ได้รับมอบหมายด้วย หากองค์การใดคำนึงถึงความสำคัญในเรื่องนี้ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการที่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัยแบบผสมผสานกลมกลืนตลอดเวลา ก็จะทำให้องค์การนั้นมีความยืดหยุ่น ทำให้เกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหารที่ทำงานร่วมกัน โดยต่างฝ่ายต่างรู้ถึงความต้องการ และความพึงพอใจต่อกัน ท้ายสุดย่อมทำให้เป้าหมายขององค์การสัมฤทธิ์ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ


3.ภาวะผู้นำ………………………………………………………………………………………………
ตอบ วรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ของจีนเรื่อง สามก๊ก ถ้าท่านได้อ่านหลาย ๆ รอบท่านจะเข้าใจบุคลิกการวางตัวของผู้นำในแต่ละก๊ก และหากท่านเข้าไปในร้านหนังสือ หนังสือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหลายเล่มของหลายชาติ มักจะเขียนวิเคราะห์วิธีบริหาร ภาวะผู้นำโดยวิพากษ์ลักษณะบุคลิก ความสามารถในการวางแผนรบ การวางตัวของผู้นำ โดยเฉพาะ ขงเบ้งและโจโฉ ความสำเร็จของผู้นำเหล่านี้ ทำไมโดดเด่นกว่าผู้อื่น เพราะมี สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ นั้นเอง มนุษย์ทุกคนมีความแตกต่างกัน ผู้มีภาวะผู้นำเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน
ความหมายของภาวะผู้นำ
มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่จำเป็นต้องเข้าใจในเริ่มแรก ก็คือคำว่า “leadership” ซึ่งมักเรียกว่า
“ภาวะผู้นำ” หรือ “การเป็นผู้นำ” กับอีกคำหนึ่งคือ “Management” ซึ่งเรียกว่า “การบริหาร” หรือ “การบริหารจัดการ” ทั้งสองคำมีความหมายแตกต่างกัน โดยมีนักวิชาการคนสำคัญให้ทัศนะไว้ ดังนี้
คอตเตอร์ (Kotter, 1999) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการ (Management) หมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนได้ การบริหาร จัดการที่ดีทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแง่ มีแผนงานที่เป็นทางการ มีโครงสร้าง ขององค์การที่แน่นอนชัดเจน และมีการกำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนส่วน ภาวะผู้นำหมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับทิศทางขององค์การในอนาคต จากนั้นจึงจัดวางคนพร้อมทั้งสื่อความหมายให้เข้าใจวิสัยทัศน์และสร้างแรงดลใจแก่คนเหล่านั้น ให้สามารถเอาชนะอุปสรรคเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว
เฮาส์ (House, 1996) แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มีความเห็นคล้องจองกับทัศนะดังกล่าว โดยเห็นว่า ผู้บริหาร (Manager) คือ ผู้ใช้อำนาจทางการ (Authority) ซึ่งมากับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเพื่อให้สมาชิกขององค์การยอมปฏิบัติตาม การบริหารจัดการจึงประกอบด้วยการนำวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของผู้นำลงสู่การปฏิบัติ การประสานงานและการจัดคนทำงานในองค์การ ตลอดจนการแก้ปัญหาประจำวันที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ให้นิยามความหมายของภาวะผู้นำจำนวนมากมายหลายท่านพอสรุปความหมายของ ภาวะผู้นำว่า เป็นความสามารถในการมีอิทธิพลต่อกลุ่มเพื่อให้ดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ เแหล่งที่มาของ การมีอิทธิพล อาจเป็นอย่างทางการ เช่น ได้กำหนดชัดเจนมากับตำแหน่งทางบริหารขององค์การนั้นว่ามีอำนาจอะไรบ้างเพียงไร ดังนั้นการได้รับบทบาทการเป็นผู้นำในตำแหน่งบริหารก็ทำให้บุคคลนั้นได้รับอำนาจและเกิดอิทธิพลต่อผู้อื่นตามมา อย่างไร ก็ตามความเป็นจริงพบว่า ไม่ใช่ผู้นำทุกคนที่สามารถเป็นผู้บริหาร (Not all leaders are managers) และเช่นเดียวกัน ก็ไม่ใช่ผู้บริหารทุกคนที่สามารถเป็นผู้นำ (Not all managers are leaders) ด้วยเหตุนี้เพียง แค่องค์การได้มอบหมาย อำนาจหน้าที่ให้แก่ ผู้บริหารนั้น ยังไม่มีหลักประกันอย่างเพียงพอว่าผู้นั้นจะสามารถในการนำได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้อาจมีอิทธิพลจาก ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบมากกว่าอิทธิพลที่กำหนดตามโครงสร้างองค์การก็ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ผู้นำสามารถเกิดขึ้น จากกลุ่มคนให้การยอมรับนับถือได้เช่นเดียวกับที่มาจาก การแต่งตั้งอย่างทางการ ในองค์การที่ดีจำเป็นต้องมีทั้ง ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ ที่เข้มแข็งจึงจะทำให้เกิด ประสิทธิผลได้สูงสุด โดยเฉพาะภายใต้ภาวะของโลกที่มีพลวัตสูง ย่อมต้องการได้ผู้นำที่กล้าท้าทายต่อการดำรงสถานภาพเดิม มีความสามารถในการสร้างวิสัยทัศน์ และสามารถในการดลใจสมาชิก ทั้งองค์การให้มุ่งต่อความสำเร็จตามวิสัยทัศน์นั้น แต่เราก็ยังต้องมีการบริหารที่สามารถกำหนดรายละเอียดของแผนงาน สามารถออกแบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์การ รวมทั้งติดตามตรวจสอบดูแล การปฏิบัติงานประจำวันอีกด้วย
ทฤษฏีภาวะผู้นำ
ทฤษฏีภาวะผู้นำ ที่สำคัญ มี 3 ทฤษฏี คือ
1.) ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory) หลัก บุคคลเป็นผู้นำเพราะ มีบุคลิกลักษณะ ความสามารถที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ (รูปร่างหน้าตา สติปัญญา วิสัยทัศน์มีความสามารถเหนือคนอื่น ความประพฤติดี มนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยคุณลักษณะที่เด่นชัด คือ มีความรู้ความสามารถในการงาน เข้าร่วมกิจกรรมด้วยใจรัก ได้รับการยอมรับจากสมาชิก สมาชิกเต็มใจทำงานร่วม
2. ทฤษฎี สถานการณ์ (Situation Theory)หลักการ ผู้นำเกิดจากสถานการณ์บางอย่างผลักดันให้บุคคลต้องแสดงบทบาทผู้นำ หรือต้องพัฒนาลักษณะผู้นำขึ้นมา (ฮิตเลอร์ มุสโสลินี หรือ เหมาเจ๋อตุง) ทฤษฏีนี้ยอมรับความสัมพันธ์ของผู้นำและกลุ่ม ผู้นำต้องครองใจปวงชนผู้แวดล้อม
3. ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interaction Theory) หลักการ ความเป็นผู้นำเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำ+สถานการณ์(วิเคราะห์จากคุณสมบัติผู้นำ และ สถานการณ์ ) เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ความเป็นผู้นำก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้นำจึงมีได้หลายคน ผลัดเปลี่ยนกันไป


ทฤษฎีอื่นๆ ในเรื่อง ภาวะผู้นำ โดย Terry สรุป ไว้ 4 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีสนับสนุน (supporting Theory) เป็นทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นำเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน มีโอกาสร่วมวางแผนและตัดสินใจในพันธกิจขององค์การ ( ผู้นำต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ร่วมงาน )
2. ทฤษฎีทางสังคมวิทยา(Sociological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานโดยมุ่งจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3. ทฤษฎีทางจิตวิทยา( Psychological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องพัฒนาระบบสร้างแรงจูงใจ มีจิตวิทยาสูง ใช้เทคนิคกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์การ
4. ทฤษฎียึดถืออำนาจ (Autocratic Theory) มีความเชื่อในการใช้อำนาจ ของตนเองในการบริหาร สั่งการ บีบบังคับให้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องการเหตุผลในการอธิบายความ
แบบและประเภทของผู้นำ
รูปแบบ ของผู้นำ มี 2 รูปแบบ คือ
1. ผู้นำที่เน้นงานเป็นศูนย์กลาง (Tasked –Related Function)
2.ผู้นำเน้นความสัมพันธ์กลุ่มเป็นศูนย์กลาง(Group-maintenance)
Likert ได้ศึกษารูปแบบผู้นำในมหามิชิแกน พบว่า การบริหารแบ่งผู้นำเป็น 4 แบบ
1. ผู้บริหารมุ่งใช้อำนาจ
2. ผู้บริหารใช้อำนาจอย่างเมตตา
3. ผู้บริหารแบบการปรึกษาหารือ
4. ผู้บริหารเน้นความร่วมมือกับทุกฝ่าย
ประเภทของผู้นำ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย (Autocratic Leader) ลักษณะเผด็จการชอบสั่งการใช้อำนาจกดขี่ ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง การบังคับบัญชาสั่งการจากข้างบนลงล่าง ผู้ช่วย คือผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ผู้นำแบบเสรี(Laissez-faire leader) ไม่ยึดกฏเกณฑ์ตายตัว ปรับเปลี่ยนได้ตามผู้ร่วมงานเสนอ ปล่อยผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ไปเรื่อยๆ/ไม่มีความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ ไม่มีการประเมินผลงาน
3.ผู้นำแบบประชาธิปไตย(Democratic leader) ยึดถือความคิดกลุ่มเหนือความคิดตนเอง มีการแบ่งงานและมอบหมายงานอย่างเป็นระบบเป็นระบบ ให้คำแนะนำในการทำงาน เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงานโดยใช้กฎเกณฑ์สร้างสรรค์งาน
กล่าวโดยสรุป สภาพปัจจุบัน ผู้นำ มี 4 แบบ คือ
1.ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laissez-faire leader) ผู้นำจะปล่อยให้ผู้ร่วมงานตัดสินใจดำเนินการได้เอง ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากผู้บังคับบัญชา
2.ผู้นำแบบเกื้อกูล หรือ แบบใช้พระคุณ(Charismatic Leadership) มีพฤติกรรมอ่อนโยน เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้หลักธรรม หลักมนุษยสัมพันธ์
3.ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) เชื่อมั่นตนเอง ชอบสั่งการ ตัดสินใจตามอารมณ์ ผูกขาดการตัดสินใจที่ตัวคนเดียว
4.ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic leader) ถือเอาความคิดของกลุ่มเป็นหลัก ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ปัจจุบันถือว่าเป็นแบบผู้นำที่ดีที่สุด
ปัจจัยในการสร้างความเป็นผู้นำ ขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัยหลัก คือ
1.ภูมิหลังและประสบการณ์ (Background and Experience) พื้นฐานครอบครัวและมวลประสบการณ์เดิมที่ผ่านมาในช่วงชีวิต
2.สติปัญญาและคุณภาพสมอง (Intellectual and mental quality) มีทักษะทางภาษา การติดต่อสื่อสาร / ความสามารถด้านการมีเหตุผล /ความจำ/ความรอบรู้
3.คุณลักษณะทางร่างกาย (Physical attributes) ผู้นำที่ร่างกายแข็งแรง จะมีจิตใจที่ดี
4.บุคลิกภาพและความสนใจ( Personality and Interests) ความสนใจ กระตือรือร้นและความเต็มใจในการปฏิบัติงาน
5.ความเชื่อมั่นในตัวเอง(Self-Confidence) ผู้นำต้องสร้างความเชื่อมั่น/มั่นใจในตัว

คุณสมบัติของผู้นำ ผู้นำ ผู้บริหารที่ดี ต้องมี คุณลักษณะพื้นฐาน 10 ประการ คือ
1. สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดี
2. มีความสามารถในการวิเคราะห์
3. วิเคราะห์เหตุการณ์ ตัดสินใจดี
4. มีความคิดริเริ่ม และเป็นผู้รอบรู้
5. เป็นที่พึ่งแก่เพื่อนร่วมงาน และเชื่อถือไว้วางใจได้
6. ตัดสินใจแน่นอน ไม่รวนเร
7. รู้จักปรับตัว ละเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
8. จิตใจมั่นคง ไม่เอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่
9. มีคุณลักษณะและความประพฤติส่วนตัวที่ดี
10. มีคุณลักษณะของผู้นำ
เทคนิคการสร้างเสริมความเป็นผู้นำที่ ฝึกฝนได้ มี 8 ประการ คือ
1. สำรวจตัวเอง พิจารณาข้อบกพร่อง เปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำที่ดี
2. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านบริหาร และ จิตวิทยาสังคม
3. ฝึกอบรมในสถาบันปรับปรุงบุคลิกภาพ
4. พัฒนาการสนทนาโต้ตอบ ฝึกการเป็นนักฟัง /นักพูด(ถ่ายทอด)ที่ดี
5. ปรับปรุงบุคลิกภาพ ภายในและภายนอก ของตนเอง
6. ทบทวนท่าที ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้สุภาพนุ่มนวล เป็นปกตินิสัย
7. ฝึกฝน สังเกตการณ์ กล้าตัดสินใจ
8. ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีเหตุผล ในการทำงาน มีความสุขุมรอบคอบ
กล่าวโดยสรุป คุณลักษณะผู้นำที่ทำให้การบริหารงานประสบความสำเร็จ คือ
1. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สุขุมเยือกเย็น
2. มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
3. .สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี
4. กล้าตัดสินใจ รวดเร็ว ถูกต้อง
5. ติดต่อสื่อสารได้ดี
6. รอบรู้ในงานที่รับผิดชอบ
7. มีความขยันขันแข็ง มานะ อดทน
8. เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์
9. สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
10. วินิจฉัยปัญหา คาดการณ์เหตุการณ์ได้ดี
11. มีมนุษยสัมพันธ์ ทักษะทางสังคม
12. .ทำงานในสภาวะกดดัน ตึงเครียดไดดี
13. มีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ
14. วางแผนและประสานแผนได้ดี
15. มีสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรอื่น
16. รู้จักใช้ข้อมูล สารสนเทศให้เกิดประโยชน์
ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
ภาวะผู้นำ เป็นขบวนการสร้างสิ่งเร้าขบวนการพัฒนาและการทำงานกับคนในองค์การ เป็นขบวนการมุ่งคน การมุ่งสร้างแรงจูงใจให้กับคน การใช้มนุษย์สัมพันธ์หรือการปฏิสัมพันธ์ในองค์การการสื่อสารระหว่างบุคคล การสร้างบรรยากาศในองค์การ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความเจริญและการพัฒนานอกเหนือจากนั้นก็คือปัจจัยของมนุษย์ที่ส่งเสริมการผลิต ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติการขององค์การ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในจุดหมาย การตัดสินใจเลือกทางเลือกใหม่ การสนับสนุนส่งเสริมการบริการการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น การนำหลักการเปลี่ยนแปลงมาใช้ในองค์การและปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสร้างความพึงพอใจหรือบางครั้งมีผลในทางตรงกันข้าม คือสร้างความไม่พึงพอใจของมนุษย์ในองค์การ
ภาวะผู้นำทางการศึกษากับผู้บริหารการศึกษาจะต้องเหมือนกัน หมายความว่าผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติของภาวะผู้นำนั้นเอง การเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ต้องการความเป็นผู้นำในการบริหารงานของตน จึงจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพราะผู้บริหารสมัยใหม่ตระหนักดีว่ามนุษย์มีความแตกต่างกันตามลำดับขั้นของความต้องการจำเป็น ซึ่งต่างกับการทำงานกับเครื่องกลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กฎเกณฑ์ตายตัวได้ในการสั่งให้เครื่องทำงาน แต่การสั่งให้มนุษย์ทำงานด้วยกฎเกณฑ์ที่ตายตัวอาจได้ผลมากบ้างน้อยบ้าง หรือไม่ได้ผลเอาเสียเลยก็เป็นได้ ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องใช้ศาสตร์ คือความรู้ในเรื่องระเบียบ ทฤษฎีต่าง ๆ และศิลปในการบริหารทฤษฎีจะเป็นเครื่องมือและเครื่องช่วยนำทางสำหรับผู้บริหาร ถ้าไม่มีทฤษฎีการบริหารงานจะประสบความสำเร็จก็ด้วยเหตุบังเอิญเท่านั้น ส่วนศิลปะนั้นจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำเอาทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ ภาวะผู้นำหมายถึงอะไร ภาวะผู้นำมีอยู่หลายความหมาย อาจจะเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน ประการแรก ภาวะผู้นำมีขอบเขตกว้างขวางและเกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ มากมาย ประการที่สอง ภาวะผู้นำเป็นผลงานของสหวิทยาการ สหสถาบันและสหอาชีพ ฉะนั้นวิธีการมองภาวะผู้นำของแต่ละวิชา สถาบันและอาชีพจึงแตกต่างกันออกไป ประการสุดท้าย องค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำยังถือเป็นข้อยุติไม่ได้ ยังต้องพัฒนาและปรับปรุงไปอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้บริหารจึงต้องพัฒนาตนเอง เสมอตามหลักผู้นำที่ดีและประสบผลสำเร็จ 16 ประการข้างต้น

สรุป ภาวะผู้นำของผู้บริหาร เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของของการบริหารการศึกษา ที่นำการศึกษาไทยให้ประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 2 ตามนโยบายไทยเข้มแข็งของรัฐบาล การคัดเลือกบรรจุแต่งตั้งและการพัฒนาผู้บริหารเดิมเป็นสิ่งสำคัญมาก หากได้ผู้นำที่ขาดภาวะผู้นำไปบริหารโรงเรียน เราคงตามหลังประเทศอื่นไปอีกนาน


4.การสื่อสาร

……………………………………………………………………………………………………….
ตอบ มีเรื่องเล่าเรื่อง เป็นเรื่องตลกกันในภาคใต้บ้านเกิดของผู้เขียน ว่านานมาแล้วมีครูคนหนึ่งเป็น
คนภาคกลางมาบรรจุในภาคใต้ไม่ถึงปียังไม่เข้าใจวัฒนธรรมและประเพณีชาวใต้ รวมทั้งภาษาท้องถิ่นด้วย วันหนึ่ง มีวัวชนของชาวบ้านหนีเจ้าของเข้ามากินผักในแปลงผักนักเรียน นักเรียนไม่กล้าไล่วัวเพราะวัวชนดุมาก จึงหนีมายืนรวมกันอยู่ใกล้อาคารเรียน ครูใหญ่และครูหนุ่มมาเห็น เดินไปหานักเรียน ครูใหญ่รีบพูดทันทีว่า “ หยิกตา “ หยิกตา “ เด็กก็ยืนตัวสั่น ครูใหญ่จึงตะโกนย้ำว่า “หยิกตา “ “ หยิกตา “อีกครั้ง ครูหนุ่มคิดในใจว่า ครูใหญ่ทำไมใช้เด็กไปหยิกตาวัว ถ้าวัวขวิดจะเกิดอันตรายกับเด็กจึงตัดสินใจ เดินไปหาวัว แล้วใช้มือหยิกตาวัว อย่างแรง เพื่อให้วัวหนีไป แต่วัวไม่หนีขวิดครูหนุ่มจนกางเกงขาด บังเอิญว่า เจ้าของวัวมาช่วยดึงเชือกไว้ทัน มิฉะนั้นครูหนุ่มต้องโดนวัวขวิด ไส้ทะลักเป็นแน่แท้ นักเรียนเองก็งงไปตาม ๆ กัน ว่าครูทำอะไรแผลง ๆ ส่วนครูใหญ่นึกได้ทั้งสงสารและกลั้นหัวเราะครูหนุ่มที่เดินกะเผลกมาหา แล้วกล่าวว่า “ ครูใหญ่ครับผมเป็นห่วงเด็ก เลยหยิกตาวัวแทนเด็ก ไม่เห็นวัวมันกลัวหนีไปเลย กลับขวิดผมจนกางเกงก้นขาด “ ครูใหญ่จึงกล่าวว่า “ ครูผมขอโทษจริง ๆ ผมไม่ได้ได้สั่งให้เด็กหยิกตาวัว ผมสั่งเด็กว่า หยิกต้ะ หยิกต้ะ เป็นภาษาถิ่นใต้ แปลว่า ไล่ออกไป ไล่ออกไป มาจากคำว่า ขยิก โถเอ๋ย ไม่น่าเลยครู”
จากเหตุการณ์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสื่อสาร ถ้าครูใหญ่รู้ว่าครูน้อย มีประสบการณ์แค่ไหน เป็นใครมาจากไหน ครูใหญ่ก็จะสื่อสารต่อครูหนุ่มได้อย่างถูกต้อง การสื่อสารของผู้บริหาร ย่อมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการพัฒนางานและกระบวนการในการทำงานการพูด การเขียน การประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารต้องทำให้มีความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มแจ้ง

องค์การกับการสื่อสาร ประโยชน์ของการสื่อสาร
1. การสื่อสารช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจบทบาทของแต่ละคน และทำให้แต่ละหน่วยงานในองค์การมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารนำมาใช้ในการตัดสินใจ การติดตามงาน แล ะการแก้ไขงาน

ความสำคัญของการสื่อสารในองค์การ
1. การสื่อสารทำให้เกิดความหมาย
2. การสื่อสารทำให้คาดคะเนความคิดกันได้
“การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางการสื่อสารจะสามารถคาดคะเนพฤติกรรมและแนวความคิดของคนอื่นได้”
3. การสื่อสารทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน
ในองค์การ : ระหว่างบุคคลในที่ทำงานเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการ ประสานงาน การปรึกษาหารือ การประชุมเพื่อแก้ปัญหานอกองค์การ :การติดต่อกับลูกค้า ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตัวแทน

รูปแบบของการสื่อสาร
1. การสื่อสารด้วยการใช้คำ ได้แก่ พูดหรือเขียน เช่น ผู้บริหารออกคำสั่งกับบุคลากรในโรงเรียน การสัมภาษณ์งาน การเขียนรายงาน การบันทึก การประชุม
2. การสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง กิริยาท่าทาง การแต่งตัว การใช้เครื่องประดับ การจัดโต๊ะเก้าอี้ในที่ทำงาน
การสื่อสารกับกิจกรรมขององค์การ
1. การตัดสินใจ ผู้บริหารต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดการผิดพลาดน้อยที่สุด
2. ความเจริญและพัฒนา การพัฒนาบุคลากรควรหาแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อ บุคลากร
3. ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ต้องสร้างความเข้าใจด้วยสื่อสาร จูงใจให้เกิดความรู้สึกที่ดี เต็มใจและยินดีที่จะทำงานที่ตนมีความถนัด
4. เทคโนโลยี จัดให้มีคู่มือ การแนะแนว โครงการฝึกอบรมให้มีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่
5. การควบคุมและการประสานงาน สร้างบรรยากาศและช่องทางการสื่อสารให้ทั่วถึงทั่งองค์การ
6. สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง สังคม ต้องติดตามข่าวสารต่างๆเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้

ลักษณะการสื่อสารในองค์การ

1. ระบบรวม (Macro Approach) ภาพรวมทั้งองค์การ
1.1 การติดตามรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายนอก กำหนดให้พนักงานมีหน้าที่รับผิดชอบติดตามข้อมูล รายงาน วิเคราะห์ถึงผลกระทบจากข้อมูลภายนอก
1.2 การพิสูจน์ให้เห็นจริง ทำได้ตามที่ตกลงไว้หรือไม่
1.3 การติดต่อกับองค์การอื่น โดยหาข้อมูลทางวารสารหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ท - การแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลในกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน
1.4 การกำหนดวัตถุประสงค์ พิจารณาจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากภายนอก ขีดความสามารถของลูกค้า และติดต่อกับสถาบันอื่นก่อน
2. ระบบย่อย (Micro Approach) หน่วยงานย่อยในองค์การ
2.1 การเป็นสมาชิกของกลุ่ม สื่อสารสร้างความเข้าใจ มีเป้าหมายร่วมกัน
2.2 การปฐมนิเทศและการฝึกอบรม ให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
2.3 การสร้างบรรยากาศในการทำงาน พุดคุยปรึกษากันอย่างเสรี การเปิดเพลงเบาๆ
2.4 การควบคุมและการสั่งงาน ต้องอาศัยเครื่องมือทางการสื่อสารที่ดี และมีประสิทธิภาพ เช่น การประชุมภายใน หนังสือเวียน วิทยุสื่อสาร Internet Fax โทรศัพท์ เป็นต้น
2.5 การสร้างความพอใจ สร้างระบบการสื่อสารในองค์การที่เหมาะสม เช่นเสียงตามสาย วารสาร บอร์ดประชาสัมพันธ์ อีเมล์ จุดนัดพบ (Meeting Point)
3. ระบบเฉพาะบุคคล (Individual Approach) เป็นพฤติกรรมทางการสื่อสารแต่ละบุคคล
3.1 การพูดกันในกลุ่มที่ทำงานด้วยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
3.2 การเข้าร่วมประชุม :การนำเสนอข้อมูล การแก้ปัญหา การโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับ
3.3 การเขียนคู่มือ แนวทางการปฏิบัติงาน และเป็นการสื่อสารระหว่างองค์การกับบุคคลภายนอก
3.4 การร่างจดหมาย ใช้เวลาที่จำกัด และต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ
3.5 การทำสัญญาขาย มีความยึดหยุ่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า
3.6 การโต้แย้ง ผู้ที่จะประสบผลสำเร็จในการโต้แย้งจะต้องเป็นที่ผู้ชักนำให้บุคคลอื่นคล้อยตาม

การสื่อสารในองค์การ

1. การสื่อสารจากบนลงล่าง ( Downward Communication )
คือการสื่อสารจากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าไปยังบุคคลที่มีตำแหน่งต่ำกว่า หรือการสื่อสารจากผู้บริหารไปยังผู้ปฏิบัติ เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งงานไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
2. การสื่อสารจากล่างขึ้นบน ( Upward Communication )
คือการส่งข้อมูลจากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าไปยังบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือการส่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติไปยังผู้บริหาร เช่น กล่องแสดงความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน เป็นต้น
3. การสื่อสารในแนวนอน ( Horizontal Communication )
คือการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในระดับเดียวกันในองค์การ และสำหรับบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันมีผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน
4. การสื่อสารในแนวไขว้ ( Cross – Channel Communication )
คือการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละหน่วยงานกันหรือระหว่างหน่วยงานซึ่งเป็นการติดต่อข้ามแผนกของหน่วยงาน บุคคลที่ติดต่อกันอาจอยู่ในตำแหน่งเท่ากันหรือระดับตำแหน่งต่างกันก็ได้ เช่น บุคคลที่ทำงานอยู่ในฝ่ายผลิตติดต่อกับบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตลาด
หน้าที่ของการสื่อสารในองค์การ
1. การจัดหาข้อมูลเพื่อสามารถแข่งขันกับองค์การอื่น
2. ใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
3. สร้างความสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์การ
บทบาทของการสื่อสารในองค์การ
1. มีระบบที่การติดต่อสื่อสารที่เหมาะสม
2. มีสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานที่ชัดเจน
3. บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการติดต่อสื่อสารเป็นอย่างดี
การสื่อสารกับการบริหาร
1. เป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายบริหารในการบริหารงาน
2. เป็นเครื่องช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ทั้งสองฝ่าย
3. ช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันดีขึ้น การสื่อสารนำมาซึ่งความไว้วางใจ
4. การสื่อสารมีส่วนอย่างมากในการประสานงาน
5. ช่วยให้เกิดการพัฒนาและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
สรุปการสื่อสารของผู้บริหาร
ต้องมีความถูกต้องแน่นอน มีข้อมูลสั้น กระชับ กระจ่างชัดเจนตรงเป้าหมายผู้รับเข้าใจง่าย
มีผลย้อนกลับทบทวน หรือ Two – way communication


5.การตัดสินใจ……………………………………………………………………………………………
ตอบ การตัดสินใจมีผลต่อองค์การอย่างไร หากท่านได้อ่านเรื่อง มหาภารตะยุทธ วรรณคดีของอินเดีย มีอยู่ตอนหนึ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของการตัดสินใจของผู้บริหารหรือผู้นำทัพ เมื่ออรชุนผู้นำของฝ่ายปาณนพ เมื่อได้ยกทัพมาเผชิญหน้ากับกองฝ่ายเการพที่ทุ่งกุรุเกษตรก็ไม่กล้าออกรบ เนื่องจากมองไปในกองทัพเการพเห็นว่าทั้งหมดนั้นล้วนแต่เป็นญาติพี่น้องของตนทั้งสิ้น ไม่อาจตัดสินใจทำสงครามได้ ด้วยมีคุณธรรมในความรักและเมตตาต่อญาติทั้งหลาย ทำให้กฤษณะนายสารถีขับรถรบเห็นว่า กองทัพฝ่ายปาณนพจะต้องพ่ายแพ้และถูกสั่งหารสิ้นแน่นอน จึงกล่าวยกเหตุผล ถึงการกระทำโดยหน้าที่ เพื่อมนุษย์โลกและหน้าที่โดยชอบธรรม ในการกำจัดฝ่ายอธรรมจะได้รับสรรเสริญจากมนุษย์และเทพเจ้า เมื่ออรชุนได้ข้อมูลความคิดดังนั้น จึงตัดสินใจทำสงครามและชนะ
ฝ่ายเการพในที่สุด
ในประวัติศาสตร์จีนการตัดสินใจที่ดีของผู้บริหาร นำมาสู่ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของกองทัพแดงคือ การตัดสินใจอพยพกองทัพที่ถูกปิดล้อมโดยกองทัพเจียงไคเช็ค จากเมืองรุ่ยจินภาคใต้ของจีน ไปยังตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตรตั้งฐานที่มั่นในมณฑลส่านซี จีนเรียกว่า”การเดินทาง 25,000 ลี้” ตัดสินใจเสี่ยงครั้งนี้ดีกว่าอยู่ในที่มั่นเก่าซึ่งไม่เอื้อต่อการรบ มีแต่ความพ่ายแพ้ประการเดียว เหมา เจ๋อ ตุง จึงตัดสินใจสั่งการเดินทางไกลเสี่ยงตายเอาดาบหน้า เส้นทางที่เดินไปนั้นทุรกันดารมาก เป็นภูเขา เขตแห้งแล้ง และภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ แต่มีความจำเป็นเนื่องจากต้องหลีกเลี่ยงกองทัพก๊กมินตั๋ง และต้องถูกตามตีด้านหลัง ตลอดทางกองทัพแดง 100,000 คน เหลือเพียง 30,000 คน ที่รอดชีวิตมาตั้งฐานที่มั่นที่มณฑลส่านซี ใช้รัสเซียเป็นหลังพิง ขยายมวลชนได้มากขึ้น และมีเสบียงอาวุธเสริมจากรัสเซีย จนสามารถยืนหยัดต่อสู้ได้รับชัยชนะและขับไล่ก๊กมิ่นตั๋งออกจากแผ่นดินใหญ่ได้ การตัดสินใจครั้งนี้ถือว่าเสี่ยงและหวาดเสียวอย่างยิ่ง แต่นำไปสู่ชัยชนะอันยิ่งใหญ่
จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าผู้บริหาร เป็นบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และอนาคตขององค์การ เนื่องจากผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสสำคัญซึ่งการตัดสินใจของผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง (Top Executive)จะมีผลไม่เพียงต่อการดำเนินงานในระยะสั้น แต่ครอบคลุมถึงความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญเติบโตขององค์การ นอกจากนี้การตัดสินใจของผู้บริหารจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างจากการตัดสินใจของบุคลากรอื่นขององค์การ ไม่ว่าผู้บริหารระดับกลาง หัวหน้างาน ตลอดจนบุคลากรระดับปฏิบัติการ เพราะผู้บริหารระดับสูงจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือรูปแบบที่มีความซับซ้อน หลากหลายและท้าทาย โดยเราสามารถจำแนกการตัดสินใจในการทำงานของผู้บริหารออกเป็น 4 ลักษณะต่อไปนี้


1.การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวกับอนาคตขององค์การ ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง และภารกิจในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้องค์การมีตำแหน่งเชิงกลยุทธ์และความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นผลต่อความมั่นคงและการเจริญเติบโตขององค์การ โดยการกำหนดแผนกลยุทธ์จะเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจในด้านสำคัญและแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรระดับต่างๆภายในองค์การ
2.การตัดสินใจทางยุทธวิธี (Tactical Decision)เป็นการตัดสินใจว่าองค์การจะทำอะไรที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เพื่อให้สามารถบรรลุถึงภารกิจและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ แผนยุทธวิธีจะกำหนดยุทธวิธีการดำเนินงานเฉพาะเรื่อง เพื่อสร้างเอกลักษณ์การดำเนินงานและความก้าวหน้าของงาน อย่างไรก็ตามผู้บริหารจะไม่เจาะลึกถึงรายละเอียดในการปฏิบัติงานเพียงแต่มุ่งถึงการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้บุคลากรในระดับต่อไปรับมาปฏิบัติให้บรรลุความสำเร็จตามที่ผู้บริหารกำหนดเอาไว้
3. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ( Fire-fighting ) เป็นการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือวิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้น กะทันหันโดยผู้บริหารมิได้คาดการณ์ไว้ บางครั้งผู้ผู้บริหารต้องตัดสินใจที่จะดำเนินกิจกรรมต่อไป หรือยุติการดำเนินการในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
4. การควบคุม (Control) เป็นหน้าที่สำคัญทางการจัดการ (Management Functions) ที่ผู้บริหารต้องตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนงานและสถานการณ์ เนื่องจากการปฏิบัติงานอาจเบี่ยงเบนจากแผนงานที่กำหนด ซึ่งผลมาจากการวางแผนที่คลาดเคลื่อน ข้อจำกัดของทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากร การดำเนินงานอื่น ตลอดจนความผันผวนของสถานการณ์ ผู้บริหารต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับผลการดำเนินงานขององค์การ หลังจากที่องค์การได้เริ่มปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ไประยะหนึ่งแล้ว ผู้บริหารย่อมมีความสนใจต้องการจะทราบว่าผลการดำเนินงานนั้นเป็นอย่างไร มีแนวโน้มว่าจะบรรลุความสำเร็จตามที่ต้องการหรือไม่ หรือต้องปรับปรุงอย่างไรให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ แล้วนำมาทำการเปรียบเทียบกับแผนที่วางเอาไว้ เพื่อจะได้แก้ไข ปรับปรุงหรือพัฒนาให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ต่อไป

สรุป ผู้บริหารแต่ละคนจะมีสัดส่วนการตัดสินใจในแต่ละลักษณะแตกต่างกันตามงานของตน หรือสถานการณ์ขององค์การ แต่ลักษณะร่วมในการตัดสินใจของผู้บริหารที่เหมือนกันคือ ผู้บริหารที่มีศักยภาพภาพต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาหรือวิกฤตการณ์ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำองค์การฝ่าวิกฤตและดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการอย่างราบรื่น


6.การบริหารการศึกษาไทยในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร………………………………………………………………………………………………..
ตอบ
การศึกษาไทยในช่วง การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ 1 ( 2543- 2551 ) ได้รับการกล่าวขวัญกันอย่างไม่เป็นทางการว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง จะเห็นได้จากมีโรงเรียนไม่ผ่านประเมิน สมศ.เป็นจำนวนนับสองหมื่นโรง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในด้านการเมืองในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบ่อยครั้ง นักการเมืองมองกระทรวงศึกษาธิการเป็นที่แสวงหาประโยชน์ มากกว่ามาเข้าใจ และพัฒนา การนำพระราชบัญญัติการศึกษาชาติมาใช้ ก็มีการปรับปรุงใหม่ในปี 2545 การรวมหน่วยงานทางการศึกษาประสบปัญหา หน่วยงานเดิมขอแยกเป็นอิสระ เช่น อาชีวะ และระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรการศึกษา 2544 ก็ต้องปรับใหม่ ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วคล้ายกับว่าการศึกษาไทยถอยหลังไปใช้ของเดิม เราพอสรุปปัญหาการปฎิรูปได้ดังนี้
ผลของการปฏิรูปการศึกษา ( 2551 – 2552 )
1) นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่สถานศึกษาต้องนำมาปฏิบัติเท่าที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบ่อยครั้งทำให้งานด้านการนำนโยบายลงสู่โรงเรียนสะดุด ย้อนคิดถึงสมัยก่อนปี พ.ศ. 2521 (ก่อนหลักสูตร 2521) การตัดสินผลการเรียนจะมีสอบได้สอบตก แต่หลังจากนั้นแทบไม่มีการสอบตกกันอีกเลย ถึงมีเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากระบบการศึกษานั่นเอง
2) ผู้ปกครองในอดีตจะให้ความสำคัญกับครู แต่ในปัจจุบันด้วยภาระงานที่รัดตัวทำให้งานสอนกลายเป็นเรื่องของครู ผู้ปกครองบางส่วนจะให้นักเรียนเรียนพิเศษเพื่อให้ครูสอนการบ้าน ทำให้นักเรียนไม่ได้ฝึกการคิด การทำงาน ฝึกความรับผิดชอบ
3) ตัวครู ปฏิเสธไม่ได้ว่าครูมุ่งทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ แต่คำถามที่ย้อนกลับก็คือ หน่วยงานที่กำหนดวิธีประเมินผลงานทางวิชาการ กำหนดหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับการสอนของครูหรือไม่ มุ่งให้ครูวิจัย ซึ่งครูบางคนสอนไปทำวิจัยไป แต่บางคนจ้างผู้อื่นทำวิจัยก็มีให้เห็น ครูมุ่งทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ การบริหารจัดการห้องเรียนจึงกลายเป็นเรื่องรอง ด้านการสอนของครูแน่นอนว่าครูบางส่วนใช้วิธีสอนแล้วสอบแบบเดิม แต่ครูส่วนใหญ่ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนไปแล้ว แต่ความก้าวหน้าไม่มี เพราะระบบประเมินผลงานไม่ได้ผูกติดกับวิธีสอน นอกจากนี้ระบบการคัดเลือกผู้เรียนครู ผู้เรียนครูมักเป็นผู้ที่พลาดหวังจากการเลือกแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม พาณิชยศาสตร์และการบัชญี วารสารศาสตร์นิเทศศาสตร์ กว่าจะถึงเด็กกลุ่มที่เลือกเรียนครูคือเด็กที่เลือกคณะข้างต้นไม่ได้นั่นเอง
4) ด้านผู้เรียนหรือนักเรียน ลองมองย้อนดูปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ปัจจุบันเด็กและเยาวชนไม่เชื่อฟังแม้แต่พ่อแม่เมื่อมาโรงเรียนจะให้เชื่อฟังครูทั้งหมดคงยาก ปัจจุบันเด็กสนใจเกม การรวมกลุ่ม อบายมุข เด็กเรียนรู้เรื่องเว็บลามกได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่และครู แต่ไม่มีใครโทษเด็ก เมื่อเด็กแอบเปิดเว็บลามกผู้ปกครองมักบอกว่าครูไม่สนใจ ทั้งที่ในความเป็นจริง คือครูคอมพิวเตอร์สอนเด็ก40-45 คน ต่อหนึ่งห้อง คอมพิวเตอร์ 20-30 เครื่อง ทั้งสอนและให้ทำงาน พอครูหันเขียนตัวอย่างหรือพิมพ์ตัวอย่าง นักเรียนก็เปิดเว็บลามกแล้วพักไว้มุมจอ ครูไม่สามารถตรวจสอบได้
5) ด้านหลักสูตร หลักสูตร 2544 มีการวิจัยมาอย่างดี นำแนวทางตะวันตกมาใช้ แต่ผลสุดท้ายคือพบปัญหามากมาย จึงต้องจัดทำหลักสูตรแกนกลาง 2551 ที่ปรับจากหลักสูตร 2544 ให้โรงเรียนใช้ มีการกำหนดแน่นอนว่าชั้นใดเรียนอะไร แต่ไม่จัดทำตัวหลักสูตรให้โรงเรียนแล้วให้โรงเรียนเพิ่มหน่วยการเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มเข้าไป กลับให้โรงเรียนเป็นภาระจัดทำหลักสูตรเอง ทำให้เกิดปัญหาเหมือนหลักสูตร 2544 ที่ผู้เขียนเคยเขียนบทความพยากรณ์ไว้ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่าจะกลายเป็น “หลักสูตรนำร่อง-นำลอก” คือ โรงเรียนที่ใช้รุ่นหลังนำหลักสูตรจากโรงเรียนแกนนำหรือนำร่องหรือสำนักพิมพ์เอกชนที่พิมพ์ขายมาลอกอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งเป็นปัจจัยให้การใช้หลักสูตรล้มเหลว หลักสูตรซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญตัวหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการน่าจะจัดทำให้โรงเรียนส่วนหนึ่งแล้วให้โรงเรียนเพิ่มเติมส่วนหนึ่ง ซึ่งในยุคเทคโนโลยี ทางกระทรวงน่าจะนำไฟล์หลักสูตรให้โรงเรียนแก้ไขได้ แทนการที่จะต้องมาพิมพ์ใหม่
จากสภาพปัญหาดังกล่าวในอนาคต รัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมากซึ่งจากการโพลสำรวจพบว่าประชาชนพึงพอใจในผลงานด้านการศึกษาของรัฐบาลมากที่สุด ดังนั้น สิ่งที่จะบ่งบอกการศึกษาไทยในอนาคตได้ก็คือ นโยบายของรัฐบาล ที่ประกาศในรัฐสภา จะเป็นแนวทางชี้นำเป้าหมายการบริหารการศึกษาไทยในอนาคต

นโยบายการศึกษา นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ เวชชาชีวะ

1.ลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบครอบคลุมการพัฒนาครู หลักสูตร สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพและความรู้ของนักเรียนตามแผนการเรียนการสอนอย่างสัมพันธ์กับทรัพยากรและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อันจะนำไปสู่การสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาในภูมิภาค



2. จัดให้คนไทยทุกคนมีโอกาสรับการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก รวมทั้งบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อผ่านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และเชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ รวมทั้งต่อยอดให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

3.ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม พัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยและประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย พร้อมทั้งขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่างๆ เช่น สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ

4. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้อย่างจริงจัง ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนรู้ทางไกล จัดให้มีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประกอบแผนการเรียนการสอนของครูให้โรงเรียนอย่างทั่วถึง ตลอดจนพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ

5. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาให้มีความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรม การให้บริการวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง และการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ พร้อมทั้งเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและมีเส้นทางอาชีพที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านต่างๆ เช่น ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ อาหาร สิ่งทอ บริการสุขภาพ การท่องเที่ยว และการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและการบริการ เป็นต้น ตลอดจนจัดให้มีการรับรองสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพและสานต่อการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน

6. ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรม ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมรับการถ่ายโอนการจัดการศึกษา ตลอดจนการปรับระเบียบวิธีเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนับสนุนการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน

7. ส่งเสริมกลไกการบริหารจัดการศึกษาทั้งระบบ โดยครอบคลุมระบบการวางแผน การบริหารจัดการ การกำกับดูแล และการติดตามประเมินผล เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการปรับกลยุทธ์ของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

จากนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว ผู้บริหารจะต้องนำนโยบายไปปฏิบัติ ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสการศึกษาขยายไปถึงเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสการส่งเสริมเทคโนโลยีในโรงเรียนและการกระจายอำนาจทางการศึกษา การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
นี้รัฐบาลได้เพิ่มเติมนโยบายที่เรียกว่าไทยเข้มแข็งเพื่อสานต่อนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา เพื่อให้ไทยก้าวหน้า และเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย

แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

วิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบรุนแรงทำให้การผลิตการส่งออก และการใช้จ่ายของภาคเอกชนหดตัวมาก ซึ่งเป็นสถานการณ์เช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่สภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเริ่มที่จะมีสัญญาณของการมีเสถียรภาพและการฟื้นตัว ไม่อ่อนแอแต่ยังไม่แข็งแรง ที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลมีมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่รวดเร็วทันต่อสถานการณ์
เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 อย่างไรก็ดี สถานการณ์ในอนาคตมีความไม่แน่นอนสูง
เพราะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น รัฐบาลจึงจัดทำแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งจะเป็นโครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ระหว่างปี 2552-2555
(Stimulus Package 2) ภายใต้วงเงินประมาณ 1,431,330 ล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงานอย่างต่อเนื่องผ่านการลงทุนของรัฐควบคู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และพลังงาน รวมทั้งการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
2.ปรับปรุงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่ทันสมัยและจำเป็นต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
3.เร่งรัดและสร้างศักยภาพในการหารายได้จากการท่องเที่ยว
4.สร้างฐานรายได้ใหม่ของประเทศจากเศรษฐกิจความคิดสร้างสรรค์หรือเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
5.ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย
6.ปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานสูงสำหรับคนไทย
7.สร้างอาชีพและรายได้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับชุมชน
การดำเนินการตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว รัฐบาลมีความมั่นใจว่า จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจะผลักดันให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้

ด้านการพัฒนาการศึกษา ได้งบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 137,975 ล้านบาท ในส่วนของ สพฐ.ได้จัดทำโครงการเร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (SP2) : 2553 - 2555 โดยมีกรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 69,098.2480 ล้านบาท
(ปี 2553 : 28,503.1760 ล้านบาท ปี 2554 : 21,313.4282 ล้านบาท ปี 2555 : 19,281.6438 ล้านบาท) ใน 16 โครงการ ดังนี้
1. เพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
2. ลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3. พัฒนาคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐาน
4. สร้างจิตสำนึกความเป็นไทยเพื่อพัฒนาเด็กไทยอย่างยั่งยืน
5. พัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในภูมิภาคอาเซียน
6. พัฒนาครูทั้งระบบ
7. ปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษา
(จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษา)
8. เพิ่มประสิทธิภาพของส่วนราชการกระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.)
9. พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย
10. จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐ
11. สนับสนุนโรงเรียนคู่ขนานศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิค (ตาดีกา)
12. พัฒนาการเรียนรู้ระบบสองภาษา (ไทย – มลายู)
13. รินน้ำใจสู่น้องชาวใต้
14. ทุนการศึกษาภูมิทายาท
15. โรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์)
16. ศูนย์ครูใต้
หมายเหตุ โครงการ (9 -16) เป็นโครงการการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนภาคใต้


สพฐ.ได้เสนอขอรับการสนับสนุนจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพิ่มจากวงเงินเดิมที่ได้รับ 69,098.2480 ล้านบาท ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองและบริหารโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แล้ว และอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี รวมวงเงินที่ได้รับเพิ่ม 2,162.1801 ล้านบาท รวม สพฐ.จะได้รับวงเงินทั้งสิ้น 71,260.4281 ล้านบาท ตามรายการโครงการ/งบประมาณเพิ่มเติม ดังนี้
1. เพิ่มประสิทธิภาพของส่วนราชการ (สพฐ.) (โครงการเดิมเสนอขอเพิ่มวงเงิน)
2. จัดสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
(เสนอโครงการใหม่)
3. ก่อสร้าง ปรับปรุงซ่อมแซมรั้ว อาคารเรียนอาคารประกอบในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เสนอโครงการใหม่)
เลขา กพฐ.กำชับให้ทุก สพท.ต้องดำเนินการตามนโยบายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง หรือ SP2 ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 แต่ละโครงการตามแผนฯ
(16 โครงการ) เกิดจากความคิดของเจ้าหน้าที่ในส่วนกลาง และในพื้นที่ จึงทำให้ทราบว่า ขณะนี้โรงเรียนขาดอะไร ดังนั้นการยกระดับโรงเรียน การพัฒนาครู และการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องเกิดขึ้น และจะอ้างไม่ได้แล้ว ว่า สพท. หรือโรงเรียนไม่มีเงินจึงไม่สามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้

การบริหารการศึกษาในอนาคต

จากนโยบายของรัฐข้างต้นผู้บริหารจะดำเนินการให้เกิดความสำเร็จตามเป้าประสงค์ตามนโยบายของรัฐและ ตามนโยบายไทยเข้มแข็ง ภายในปี พุทธศักราช 2555

1.จัดทำหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทำให้คนในสังคมต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงหันมาสนใจศึกษาต่อในหลักสูตรที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในสังคมสถาบันการศึกษาจึงมุ่งพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ อาทิ หลักสูตรที่บูรณาการระหว่างสองศาสตร์ขึ้นไป เช่น ระดับอาชีวศึกษาหลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชา เรียนช่างยนต์จะผนวกการตลาดและการบัญชีเข้าไปด้วย เป็นต้น หลักสูตรที่ให้ปริญญาบัตร 2 ใบ และมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยตลอดเวลา หรือจัดทำหลักสูตรที่นำไปสู่ความเป็นนานาชาติ เนื่องจากสภาพยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการการศึกษาที่เป็นภาษาสากลมีมากขึ้น ที่สำคัญการเปิดเสรีทางการศึกษา ยังเป็นโอกาสให้สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทย และเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ยิ่งมีส่วนกระตุ้นให้หลักสูตรการศึกษานานาชาติมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น แต่เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรนี้ยังคงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้เรียนที่มีฐานะดี การจัดการศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้น สภาพโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงในทุกด้านร่วมกันทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ กฎกติกา การดำเนินการด้านต่าง ๆ ทั้งการค้า การลงทุน การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เชื่อมต่อถึงกันอย่างเป็นพลวัต
2.ดำเนินการระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนทั้งระบบครอบคลุมการพัฒนาครู หลักสูตร สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพและความรู้ของนักเรียนตามแผนการเรียนการสอนอย่างสัมพันธ์กับทรัพยากรและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ อันจะนำไปสู่การสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน
2. ดูแลการศึกษาภาคบังคับให้นักเรียนในเขตบริการให้มีโอกาสรับการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก รวมทั้งบุคคล
ออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อผ่านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และเชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ รวมทั้งต่อยอดให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

3.พัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยและประวัติศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย รวมทั้งร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในท้องถิ่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ

4. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในโรงเรียนเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้อย่างจริงจัง ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนรู้ทางไกล จัดให้มีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประกอบแผนการเรียนการสอนของครูให้โรงเรียนอย่างทั่วถึง ตลอดจนพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ

5. ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจการในสถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการปรับระเบียบวิธีเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนับสนุนการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
6. ส่งเสริมกลไกการบริหารจัดการศึกษาทั้งระบบ โดยครอบคลุมระบบการวางแผน การบริหารจัดการ การกำกับดูแล และการติดตามประเมินผล เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการปรับกลยุทธ์ของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดีการประยุกต์นโยบายของรัฐมาใช้ในโรงเรียนผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อม
และบริบทในท้องถิ่นของตน การดำเนินการใด ๆ ต้องผ่านความเห็นชอบของครู คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน เพื่อให้การบริหารประสบผลสำเร็จบนพื้นฐานของความเป็นจริงมิใช่การทำงานเพื่อรายงานหน่วยเหนือ ซึ่งมีแตความสำเร็จในแผ่นกระดาษเท่านั้น

4 ความคิดเห็น: